วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สายพันธุ์ของปลาทอง

ฮอลันดา
1. กลุ่มที่มีครีบหลัง ได้แก่ ฮอลันดา , ริวกิ้น , แพนด้า, เกล็ดแก้ว เป็นต้น

ฮอลันดา(Oranda)เป็นสายพันธุ์ของปลาทองชนิดหนึ่งที่เกิดจากการนำปลาทองสายพันธุ์ริวกิ้น และสายพันธุ์หัวสิงห์มาผสมกัน มันมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน ปลาทองฮอรันดานี้เป็นปลาทองที่มีความนิยมสูงในประเทศไทย เนื่องจากว่ามีราคาถูก เลี้ยงง่ายและมีสีสันสวยงาม ลักษณะของปลาทองชนิดนี้คือครีบทุกครีบจะยาวและใหญ่ มีครีบที่ตั้งตรง หางแผ่บาง ส่วนลำตัวจะยาวกว่าปลาทองสายพันธุ์ริวกิ้น และหางสิงห์


ริวกิ้น

ริวกิ้น (Ryukin) เนื่องจากปลาทองริวกิ้นเป็นปลาทองที่มีหางยาวเป็น พวงสวยงามมากเป็นพิเศษ (ดูคล้ายริบบิ้นแพรลูกไม้) ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอันหมายถึงหางยาวเป็น ส่วนใหญ่ สำหรับในประเทศญี่ปุ่นบางแห่งก็นิยมเรียกว่า Onaga ซึ่งก็มีความหมายเช่นเดียวกันคือ หางยาว และปลาทองริวกิ้นจัดว่าเป็นปลาที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในประเทศญี่ปุ่นไม่แพ้ปลาทองพันธุ์หัวสิงโต


แพนด้า

แพนด้า (Panda) ปลาทองสายพันธุ์นี้เป็นที่นิยมในประเทศจีน เป็นปลาทองสายพันธุ์ลักเล่ที่ได้มีการลอกสีที่ลำตัวจนกลายเป็นสีขาวหรือสีเงิน ส่วนครีบต่าง ๆ จะมีสีดำลักษณะคล้ายหมีแพนด้า ซึ้งสายพันธุ์นี้จะมีลักษณะไม่คงที่เพราะจะมีการลอกสีไปเลื่อย ๆ ดวงตาจะโปนออกมาทั้งสองข้าง หางจะบานออกเหมือนฮอลันดา


เกล็ดแก้ว



เกล็ดแก้ว (Pearl scales) ปลาทองเกล็ดแก้วมีลักษณะลำตัวอ้วนกลมสั้น ส่วนท้องป่องออกทั้งสองข้าง หัวมีขนาดเล็ก ปากแหลม ลักษณะเด่นที่เกล็ด คือ เกล็ดหนามากและนูนขึ้นมาจนเห็นเป็นเม็ดกลม ๆ ทั้งลำตัวที่หัวอาจมี วุ้น หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ที่พัฒนามา




2. กลุ่มที่ไม่มีครีบหลัง ได้แก่ สิงห์ญี่ปุ่น , สิงห์ลูกผสม  , สิงห์ดำตามิด  เป็นต้น

สิงห์ญี่ปุ่น
สิงห์ญี่ปุ่น (Ranchu) เป็นปลาทองที่ มีลำตัวที่อ้วนหนา ดูบึกบึน แข็งแรง ไม่มีครีบหลัง ดูแลคล้ายกับรันชูหรือสิงห์จีนมาก แต่ทว่าสิงห์ญี่ปุ่นจะมีส่วนหัวที่เล็กกว่า ไม่มีวุ้นบนหัวหรือมีแต่ก็น้อยกว่า ลำตัวสั้น หลังโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้น แลดูสง่า ปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นที่สวยงามนั้น ต้องมีส่วนหลังที่โค้งมนเป็นรูปครึ่งวงกลม เหมือนไข่ผ่าซีก ดูจากด้านข้างแล้วลำตัวปลาะต้องกว้าง หัวไม่ทิ่มหรือต่ำลงไป การว่ายน้ำต้องทำได้อย่างสมดุล มีสง่างาม




สิงห์ลูกผสม

สิงห์ลูกผสม (Lionhead - Ranchu) เป็นปลาทองสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเป็นปลาทองที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาภายในประเทศไทย โดยการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาทองสิงห์ญี่ปุ่นและปลาทองสิงห์จีน ทำให้ได้ชื่อว่าสิงห์ลูกผสม มีลักษณะก่ำกึ่งระหว่างสิงห์ญี่ปุ่นและสิงห์จีน ในปัจจุบันเป็นสายพันธุ์ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย



สิงห์ดำตามิด

สิงห์ดำตามิด หรือ สิงห์สยาม (Black siam) เป็นปลาทองสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเลี้ยงในปัจจุบัน มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวสีดำสนิททั้งตัวไม่เว้นแม้กระทั่งส่วนท้อง ส่วนหัวมีก้อนเนื้อที่เรียกว่า วุ้น ขนาดใหญ่และปิดจนมิดมองไม่เห็นลูกตา ลักษณะส่วนอื่นทั่วไปก็คล้ายกับสายพันธุ์หัวสิงห์ คือ ครีบทุกครีบสั้น ไม่มีครีบหลัง โคนหางใหญ่ แข็งแรง




ตัวอย่างปลาทองสิงห์ลูกผสม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น